เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน

นาย เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน (อังกฤษ: Henry Gustav Molaison, 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926-2 ธันวาคม ค.ศ. 2008) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า "H.M."เป็นคนไข้ความจำเสื่อมชาวอเมริกันผู้ได้รับการตัดสมองกลีบขมับด้านในออกทั้งสองข้าง คือในส่วน 2/3 ด้านหน้าของฮิปโปแคมปัส, parahippocampal cortex, entorhinal cortex, piriform cortex, และอะมิกดะลาเพื่อที่จะบำบัดโรคลมชัก (epilepsy)มีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอาการของเขาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1957 จนกระทั่งถึงเขาเสียชีวิต[Note 1][Note 2]กรณีของเขามีบทบาสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีต่าง ๆ ที่อธิบายความสัมพันธ์กันของการทำงานในสมองและความจำและในการพัฒนาของประสาทจิตวิทยาเชิงประชาน (cognitive neuropsychology) ซึ่งเป็นสาขาของจิตวิทยาที่มุ่งหมายเพื่อจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและหน้าที่ของสมองกับกระบวนการทางจิตวิทยาเฉพาะอย่าง ๆ เขาได้อาศัยอยู่ในสถานพยาบาลในเมืองวินด์เซอร์ล็อกส์ รัฐคอนเนทิตัต ซึ่งเป็นที่ที่มีการศึกษาประเด็นเรื่องของเขาอย่างมากมาย[1]สมองของนายโมไลสันได้รับเก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก ซึ่งมีการตัดเป็นส่วน ๆ เพื่อการศึกษาทางมิญชวิทยาในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2009[2] ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสมองของเขามีการเปิดให้กับนักวิจัยอื่น ๆ แล้ว[3]

เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน

เกิด 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926)
ฮาร์ตเฟิร์ด รัฐคอนเนทิคัต
มีชื่อเสียงจาก คนไข้ความจำเสื่อมที่ให้ข้อมูลเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับระบบความจำของมนุษย์ รู้จักกันก่อนเสียชีวิตว่า คนไข้ "H.M."
เสียชีวิต 2 ธันวาคม ค.ศ. 2008(2008-12-02) (82 ปี)
วินด์เซอร์ล็อกส์ รัฐคอนเนทิคัต

ใกล้เคียง

เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน เฮนรี แควิลล์ เฮนรี อานิเยร์ เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เฮนรี จอร์จ เฮนรี หลิว เฮนรี สแตฟฟอร์ด ดยุกที่ 2 แห่งบักกิงแฮม เฮนรี คิสซินเจอร์ เฮนรี เดวิด ทอโร เฮนรียุวกษัตริย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เฮนรี กุสตาฟ โมไลสัน http://www.nytimes.com/2008/12/05/us/05hm.html http://www.wired.com/wiredscience/2014/01/hm-brain... http://thebrainobservatory.ucsd.edu/ http://brainconnection.positscience.com/topics/?ma... http://www.npr.org/templates/story/story.php?story... http://thebrainobservatory.ucsd.edu/hm_live.php http://www.bbc.co.uk/programmes/b00t6zqv http://www.brainconnection.com/topics/?main=fa/hm-... https://web.archive.org/web/20080209192921/http://... http://www.jneurosci.org/content/17/10/3964.short